จิตวิทยาการเดาใจคนและการรู้จักมองคน

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

เรื่องของจิต

กรรมหรือการกระทำต่างๆ ย่อมต้องมีผลที่เกิดจากการกระทำนั้นๆ ก่อนการกระทำจะมีความคิดเกิดขึ้นก่อน ความคิดเป็นเรื่องของ "จิต" ธรรมชาติของจิตคนเราจะไม่อยู่นิ่ง แกว่งไปมาสับสนวุ่นวาย ไปกับสิ่งที่มากระทบต่างๆ จิตจะคิดอยู่ตลอดเวลา ความคิดมีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและใจ ความคิดด้านลบทำให้จิตวุ่นวาย หงุดหงิด สับสน วิตก กังวล ขุ่นมัว ฯลฯเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ซึมเศร้า กลุ้มใจ ฯลฯ เกิดความทุกข์ ความคิดด้านบวกทำให้จิตสงบ เย็น โล่งโปร่งเบาสบาย เป็นเหตุให้อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส ฯลฯ เกิดความสุข ทุกข์หรือสุขจึงเกิดจากความคิดจากจิตของเรา ไม่มีใครคิดร้ายต่อเราแต่เราจะทำร้ายตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว เราจึงต้องรู้จักตัวเรา รู้จักจิตของเรา โดยการพิจารณาจิตของเรา ให้รู้สภาพจิต ให้รู้ทันจิตของเรา โดยให้มี "สติ" คือรู้ ให้รู้ว่าเดี๋ยวนี้ขณะนี้เราคิดอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่ จะยืน เดิน นั่ง นอน พูด โกรธ ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้ ฝึกให้รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เมื่อมีสติก็จะมีความคิดเกิดเป็นปัญญาขึ้น สติเป็นเหตุให้ปัญญา สัมปชัญญะเกิดขึ้น จะกระทำสิ่งใดย่อมมีความระมัดระวัง รอบคอบ ไม่ประมาท กระทำอย่างมีสติ ไม่กระทำอย่างขาดสติ ย่อมเกิดผลดี
ธรรมชาติของคนเราทุกคนที่เกิดมาย่อมจะต้องมีโลภ โกรธ หลง (โลภะ โทษะ โมหะ) เป็นกิเลสที่ติดตัวมาด้วยกันทุกคน กิเลสอยู่ที่จิตหรือใจของเราอยู่ที่ตัวเรา เราจะมีสติควบคุมกิเลสได้มากน้อยแค่ ไหนแล้วแต่จิตของแต่ละคนกิเลสมีทั้งโทษและประโยชน์ กิเลสเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์ สำหรับบุคคลทั่วไป เลิกกิเลสไม่ได้แต่สามารถลดได้ ละให้น้อยได้ ผู้ที่ละกิเลสได้มากทำให้ห่างจากความทุกข์มาก จนถึงจุดๆ หนึ่งหากจิตปราศจากกิเลสก็หมดทุกข์เปรียบเสมือนจุดของที่เส้นตัดกัน เท่ากับ 0 (จุดที่ไม่มีกิเลส) สภาพจิตที่ใกล้ 0 มากเท่าใดกิเลสก็ยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น ยิ่งห่างมากเท่าใดกิเลสก็ยิ่งมีมากเป็นทวีคูณ โดยปกติแล้วคนที่มีสภาพจิตใกล้ 0 มากและห่าง 0 มาก จะมีจำนวนน้อยมาก ทุกข์เกิดขึ้นและมีอยู่ที่จิตของทุกคน โดยธรรมชาติหากเราต้องการดับทุกข์ ก็ต้องดับที่ต้นเหตุ คือ ที่จิตของเรา เราต้องพิจารณาตัวเราเองอย่างไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้างตัวเอง ให้รู้จักตัวเรา รู้จักจิตของเรา ยอมรับจิตของเรา จิตของเรามีกิเลสอยู่ในระดับใด ใกล้ 0 มากหรือห่างจาก 0 มาก มีความ "พอ" หรือยัง "ความพอ" ของเราสิ้นสุดแค่ไหน มีอีกเท่าไรจึงจะพอ ถ้าเรามีความพอแล้ว จิตเราจะลดกิเลสต่างๆ (โลภ โกรธ หลง) ลงได้ส่วนหนึ่ง จิตก็จะสงบขึ้น เย็น โล่ง โปร่งเบาสบายขึ้น ทำให้มีความสุข
นักปราชญ์ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ชนะใจตนเอง ย่อมชนะสิ่งทั้งปวง" แต่การที่จะชนะใจตนเองเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะต้องชนะกิเลสต่างๆ แต่ก็สามารถทำได้ โดยรูปแบบต่างๆ กัน รูปแบบหนึ่งคือการฝึกสมาธิ "สมาธิ" มีอยู่ที่จิตของทุกคน มากหรือน้อยไม่เท่ากัน จิตที่มีสมาธิเป็นจิตที่นิ่ง แน่วแน่ ความคิดไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระจัดกระจาย ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ คิดในสิ่งเดียว เรื่องเดียว ไม่สับสนวุ่นวาย ซึ่งเป็นสิ่งทำได้ยากสำหรับคนที่ไม่มีสมาธิหรือมีสมาธิน้อย จิตที่มีสมาธิเป็นจิตที่มีพลัง มีอานุภาพ มี"พลังจิต" หรือ "จิตตานุภาพ"พลังจิตที่มีอยู่หากไม่รู้จักเก็บรักษาก็จะหมดไปได้และเพิ่มได้ เหมือนกับเงินทองที่เราหามาใช้จ่าย ท่านลองทดสอบพลังจิตเบื้องต้นของท่านดู โดยการเรียกคนที่หันหลังอยู่ให้หันมาหาท่าน (ทำจิตให้เป็นสมาธิเรียกในใจ) เช่นบนรถเมล์หรือในโอกาสต่างๆ ที่หันหน้าไปทางเดียวกัน ถ้าเรามีพลังจิตเข้มแข็ง คนที่ถูกเรียกจะมีความรู้สึกเหมือนมี คนเรียกอยู่ด้านหลัง เขาก็จะหันหน้ามาตามเสียงเรียก หากได้ผลในระยะใกล้ให้ทดลองกับคนที่เรารู้จักแต่อยู่ห่างไกลกัน คนละสถานที่ ว่าเขาจะรู้สึกเหมือนที่ท่านต้องการหรือไม่ (เจอกันสอบถามดู) หากไม่เกิดผลก็ไม่เป็นไร พลังจิตฝึกได้ เพิ่ม ได้ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการฝึกสมาธิของแต่ละคน ขั้นต้นดูความราบเรียบจิตของท่านว่ามีความราบเรียบเพียงใด และสามารถใช้วิธีการต่อไปนี้เพาะกำลังของจิตให้เพิ่มขึ้นได้ (หลวงวิจิตรวาทการ, 2531:28)
ขั้นที่ 1 เอาน้ำใส่ถ้วยแก้วให้เต็มหรือเกือบเต็มถ้วย ถือถ้วยแก้วด้วยมือขวานั่งตัวตรง ชูถ้วยแก้วให้สูงเท่าระดับสายตา เพ่งตาดูถ้วยแก้วจะเห็นความหวั่นไหวของน้ำที่สั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา ขอให้ตั้งใจบังคับน้ำบังคับให้นิ่ง มือถือถ้วยให้นิ่ง ตั้งใจบังคับแขน บังคับมือ และบังคับน้ำในถ้วยให้นิ่ง ด้วยการนึกเป็นคำพูดว่า นิ่ง นิ่ง นิ่ง ความสั่นสะเทือนของน้ำจะลดน้อยลง ทำเพียงหนึ่งนาทีหยุด แล้วทำ ใหม่เปลี่ยนทำด้วยมือซ้ายบ้าง และสังเกตว่ามือซ้ายกับมือขวาของเราข้างไหนมีความราบเรียบดีกว่า
ขั้นที่ 2 ทำแบบเดียวกับขั้นที่ 1 แต่ให้ยืนและใช้ใบไม้แห้งเล็กๆ ลอยไว้ในแก้วตั้งใจบังคับแขน บังคับมือ บังคับน้ำ บังคับใบไม้ ด้วยการนึกเป็นคำพูดว่า นิ่ง นิ่ง นิ่ง ทำเพียงหนึ่งนาทีแล้วหยุดและทำใหม่ เปลี่ยนทำแขนซ้ายบ้างแขนขวาบ้าง
ขั้นที่ 3 ใช้ถ้วยแก้วใส่น้ำเต็มถึงขอบปากถ้วย และใส่ใบไม้แห้งเหมือนขั้นที่ 2 แต่แทนที่จะถือถ้วยแก้วนิ่งอยู่เฉยให้เคลื่อนมือที่ถือถ้วยแก้วเป็นวงกลม ขณะที่เคลื่อนมือนั้นต้องบังคับน้ำให้นิ่ง แม้จะเคลื่อนไปมาก็ให้ความสั่นสะเทือนน้ำน้อยที่สุด ฝึกหัดทั้งสองมือ เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วจึงไปขั้นที่ 4
ขั้นที่ 4 ใช้ถ้วยแก้วใส่น้ำและใบไม้เหมือนขั้นที่ 2 และ 3 มือถือถ้วยแก้วนั่งยองๆ บนพื้น ตั้งใจบังคับน้ำให้นิ่ง แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน โดยพยายามให้น้ำมีความสั่นสะเทือนน้อยที่สุด ยืนแล้วกลับลงนั่ง ๆ แล้วกลับยืนสลับกัน คราวนี้ขยายเวลาจาก 1 นาทีเป็น 2 นาทีแล้วหยุดเป็นพัก ๆ ส่วนใจบังคับนั้น ในขั้นที่ 4 นี้ต้องตั้งใจบังคับทั่วตัวเราว่ามีความหนักแน่น ราบเรียบ ไม่ใช่บังคับแต่มือและแขน ต้องนึกบังคับทั่วร่างกาย
แบบฝึกหัดทั้ง 4 ขั้นนี้ เป็นการฝึกหัดใจของเราให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เป็นการสร้างอำนาจของจิตให้จิต มีความหนักแน่นมั่นคงและแข็งแรงภาพประกอบขั้นที่ 4 พยายามฝึกหัดครั้งละ 7 วันหรือใช้เวลา 15 วัน สำหรับฝึกขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 สลับกันไป แล้วจึงฝึกขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ขั้นละ 7 วัน แล้วท่านจะเห็นผลเพียงแค่ 7 วันแรกจะรู้สึกว่ามีอะไรดีขึ้นทั้งทางกายและทางใจ ท่านทำแบบฝึกหัดนี้ครบ 4 สัปดาห์ก็ยิ่งเห็นผลดีมากขึ้น ถ้าท่านเป็นคนที่มักตื่นเต้น ตกใจง่ายลักษณะนั้นก็จะหายไป ถ้าท่านกลัวอะไรโดยไม่มีเหตุผลหรือสะดุ้ง หวาดกลัวอยู่เป็นนิตย์ ลักษณะอันนี้จะลดน้อยลง และถ้าท่านฝึกหัดต่อไปอีกก็จะเห็นผลดีมากขึ้น จนถึงจุดหนึ่งจิตจะไม่สะดุ้งสะเทือน ไม่หวั่นไหวเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นไม่ว่าทางดีหรือทางร้าย ไม่เศร้าโศก ไม่ขุ่นหมอง ปลอดโปร่งอยู่เสมอ เป็นมงคลอันสูงสุด ดังที่ปรากฏในมงคลสูตรว่า


พลังจิตที่มีอยู่หากไม่รู้จักเก็บรักษาจะทำให้ลดน้อยหรือหมดไปได้การกระทำต่อไปนี้ เป็นต้นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สูญเสียพลังจิต ตัวอย่างเช่น ความโกรธ การโต้เถียงการพูดซุบซิบ พูดกระซิบกระซาบ การนั่งกระดิกเข่าฯลฯ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก